แค่หมดแรง หรือเราหมดใจ ในการทำงาน (Burnout)

Burnout

คุณกำลังมีอาการแบบนี้อยู่หรือเปล่า

  • รู้สึกว่าทำอะไรไม่เสร็จสักอย่าง นู่นก็ต้องทำ นั่นก็ต้องเสร็จ
  • รู้สึกหงุดหงิด โมโห เรื่องที่เกี่ยวกับงาน คนที่เกี่ยวกับงาน ทุกอย่างที่เกี่ยวกับงาน
  • ปวดหัว ปวดท้อง มีปัญหาการย่อยอาหารบ่อยๆ
  • ตื่นมาไม่รู้สึกมีพลังในการทำงาน หรือทำอะไรเลย
  • ประสิทธิภาพการทำงานลดลง หดหู่ ไม่พูดไม่จา
  • จุดเดือดต่ำ หงุดหงิดง่ายกว่าปกติ อยากลาออกจากงานเต็มทน

อาการเหล่านี้ คืออาการของคน “หมดใจ” จากงาน

อาการหมดแรง หมดไฟ ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่มาเเป็นกระแสฮิตกันเมื่อไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา เพราะเรามีจำนวนพนักงานออฟฟิศ และชนชั้นกลางมากขึ้น ตำแหน่งผู้บริหารระดับกลางที่ลูกน้องก็ต้องคุม ต้องตรวจงาน เจ้านายก็สั่งงานตีหนึ่งตีสอง บางอารมณ์ก็แอบคิดว่า เกลียดงานตัวเองจังเลยน้อ

เอ…​คุ้นๆไหมว่าใครบ้าง

อาการหมดใจ (Burnout) กับความเครียดต่างกัน 

ความเครียดเกิดจากความ “มากไป” คนที่เครียดจะรู้สึกว่ถ้าทำงานได้สำเร็จ ก็จะหายเครียดแล้ว ลั้นลาได้

แต่อาการหมดใจ คือความ “ไม่พอ”

รู้สึกไม่มีแรงบันดาลใจ ไม่มีแรง ไม่ได้รับการสนับสนุน จะมีความรู้สึกสิ้นหวังว่าคงไม่มีอะไรดีขึ้น ความรับผิดชอบท่วมหัวจนหายใจไม่ออก

ความเครียดจากงานเป็นเวลายาวนานไม่จบสิ้น เป็นสาเหตุหนึ่งของอาการหมดใจ

5 ความไม่พอที่ก่อให้เกิดอาการหมดใจ

จากผลวิจัยปี 2018 ของบริษัท แกลลัพ ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยความผูกพันของพนักงานกับองค์กร กล่าวไว้ว่า

1. “เวลา” ไม่พอ – ความกดดันจาก deadline ที่ไม่สมจริง 

กว่า 70% ของชาวพนักงานออฟฟิศ​ที่บอกว่าได้เวลาในการทำงานให้เสร็จเพียงพอ มีความเสี่ยงที่จะหมดใจน้อยกว่า ตัวอย่างง่ายๆจากงานบางประเภทอย่างที่มีความเครียดสูงจาก ความเร่งด่วนของหน้ที่ เช่นหมอ พยาบาลห้องฉุกเฉิน แม้ชาวออฟฟิศจะไม่ได้มีหน้าที่เกี่ยวกับความเป็นความตาย แต่แรงกดดันจากเวลาที่บีบคั้นจากทุกอย่างที่ต้องทำ ก็ส่งผลให้หมดใจได้เช่นกัน

2. “ได้รับการสนับสนุน” ไม่พอ – ไม่ได้รับการสนับสนุนจากเจ้านายหรือเพื่อนร่วมงาน 

ชาวออฟฟิศที่มีเจ้านายที่ให้ความสนับสนุน “อย่างเต็มที่” (เน้นว่าไม่ใช่หนับหนุนบ้างไม่หนับหนุนบ้างนะ) มีโอกาส burn out น้อยกว่าปกติ 70%

3. “ความชัดเจน” ไม่พอ – หน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบไม่ชัดเจน หรือเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

มีเพียงแค่ 60% ของพนักงานที่รู้สึกเข้าใจหน้าที่ความรับผิดชอบของตัวเองอย่างชัดเจนจริงๆ เมื่อความคาดหวังว่าผลงานจะได้แบบไหน เป้าหมายคืออะไร แต่แล้วมีการเปลี่ยนเป้าตลอด หรือไม่ชัดเจนว่าต้องการผลอย่างไรกันแน่ มันทำให้คนทำงานหมดใจได้ง่ายๆ

4. “ความพอดี” ไม่พอ – ปริมาณงานที่เยอะเกินรับ 

เกินที่จัดการได้ แม้แต่พนักงานได้โล่ห์ที่ขยันที่สุด ก็หมดใจได้ ลองหันมาดู to do list ของคุณ หรือ calendar ว่ามันเต็มเกินไปไหม จัดการเวลาของแต่ละการประชุม แต่ละชิ้นงานที่ต้องส่งได้อย่างสมเหตุสมผลแล้วหรือยัง

5. “ความยุติธรรม” ไม่พอ – ได้รับการดูแลที่ไม่ยุติธรรม 

มีโอกาส burnout มากกว่าคนที่รู้สึกว่าบริษัท “แฟร์” ถึง 2.3 เท่าเลยทีเดียว

เราจะจัดการกับอาการหมดใจได้อย่างไร 

เชื่อไหมว่าการหยุดพักร้อนเป็นเพียงการแก้ปัญหาระยะสั้น ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาความหมดใจได้อย่างเด็ดขาด

จะแก้ความหมดใจให้ขาด เริ่มก้าวแรกด้วยการกลับสู่สามัญ

ดูแลร่างกายให้ดีก่อน

การดูแลตัวเอง กินอาหารดี นอนหลับให้เพียงพอ ออกกำลังกาย ลดความเครียดจากการทำงานลงก่อน ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ ชานมไข่มุก ก็เพลาๆลงกันบ้าง

ขั้นต่อไป ถามใจเธอดู

ตั้งคำถามให้ตัวเองว่าสาเหตุของอาการหมดใจ เกิดจากอะไร แง่มุมไหนบ้างของงาน เตรียมตัวอย่างของความกดดันที่แก้ไขได้ เพราะบางทีหัวหน้างานอาจจะไม่ทราบว่าเราไม่ได้รับความสนับสนุนจากแผนกอื่นที่ต้องทำงานด้วย ส่งผลให้ทำให้งานไม่ทัน deadline ซึ่งมันเพิ่มความเครียดของคุณอย่างมหาศาล

สาเหตุต่างๆที่คิดมานี้ ถ้าคุณเป็นหัวหน้างานคุณจะแก้ไ้ขปัญหาของคุณเองได้อย่างไรบ้าง

เมื่อเราได้สาเหตุ และลองทำตัวเป็นหัวหน้างานแล้วหาทางแก้ไขให้ตัวเองแล้ว ก็ถึงเวลาคุยกัน

ถึงเวลาสื่อสาร ทำความไม่พอ ให้มีความพอดี

การสื่อสารพูดคุยกับหัวหน้างานอย่างสร้างสรรค์ นัดเวลาพูดคุยกับหัวหน้างาน ในแง่เนื้องาน ปริมาณงาน ความคาดหวังผลงาน และระยะเวลาที่ให้ในการทำงานให้เสร็จสมบูรณ์และมีคุณภาพ  ทำความเข้าใจและตกลงกัน ให้เข้าใจตรงกัน เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการลดความเครียดในการทำงาน และแก้อาการหมดใจได้ยืนยาว

อย่างไรก็ตาม ถ้าถึงจุดต้องเปลี่ยนงานจริงๆ ไม่ได้รู้สึกสนุกกับงานที่ทำแล้ว หรือการพูดคุยกับหัวหน้างานไม่ได้ผล แสดงว่าคุณอยู่ในสภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นพิษ อาจจะได้เวลาเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่าซะที..​. เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการมีความสนุกและสนุกกับงานที่ทำในทุกๆวัน

 

 

 

เริ่มออกแบบอาชีพของคุณตั้งแต่วันนี้เลย

อย่ามัวแต่รอให้โอกาสเข้ามาหา คุณสามารถเข้าหาโอกาสดีๆ ได้ด้วยตัวเอง! เราพร้อมช่วยเหลือในก้าวแรกบนหนทางสู่การผจญภัยในอนาคตของคุณ มาออกตามหาโอกาสทางอาชีพใหม่ๆ บนความก้าวหน้าและนวัตกรรมที่ทันสมัย ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ GetLinks ตั้งแต่วันนี้เลย!


About the Author: Napatt Rujiteramej
ที่ปรึกษาการตลาดที่หงุดหงิดทุกครั้งที่อ่าน content ที่ไม่สนุก จึงหวังจะเป็นหนึ่งในกลุ่มคนสร้าง content ที่บอกเล่าเรื่องราวการทำการตลาดและการบริหารธุรกิจที่ real กระชับ แต่มีสีสันและรสชาติครบถ้วน เหมือนก๋วยเตี๋ยวเครื่องเยอะ น้ำซุปแซบ
Follow her on Facebook
0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments
0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x